วารสารดำรงราชานุภาพ เล่มที่ 41 เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน>>อ่าน
| ||
เอกสารความรู้ เล่มที่ 6/2555 คำศัพท์สำหรับการบริหารงานพัฒนาจังหวัด>>อ่าน
| ||
เอกสารความรู้ เล่มที่ 9/2555 มารู้จักอาเซียนกันเถอะ >>อ่าน
| ||
การค้าการลงทุนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย กรมการค้าต่างประเทศ>>อ่าน
| ||
ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยในปี 2558 เมื่อไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
โดย ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ >>อ่าน | ||
มุมมองของภาคเอกชนต่อการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558
โดย นายฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล>>อ่าน | ||
ประเทศไทยกับอาเซียนและการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558
โดย น.ส.บุษฎี สันติพิทักษ์>>อ่าน | ||
การเตรียมความพร้อมของกระทรวงมหาดไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
โดย กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย>>อ่าน | ||
รายงานการศึกษา โอกาสและผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อ
กระทรวงมหาดไทย โดย สำนักงานนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย>>อ่าน |
เครือเบทาโกรทำพิธียกเสาเอกโรงงานผลิตอาหารสัตว์แห่งแรกในกัมพูชา
ดร.ชัยวัฒน์ แต้ไพสิฐพงษ์ ประธานกรรมการเครือเบทาโกร เป็นประธานนำคณะผู้บริหารรระดับสูงและพนักงานเครือเบทาโกร เข้าร่วมพิธียกเสาเอกโรงงานผลิตอาหารสัตว์แห่งแรก บริษัท เบทาโกร (กัมพูชา) จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ หรือPhanom Penh Special Economic Zone (PPSEZ) โดยมี นางจีรนันท์ วงษ์มงคล อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) ประจำกรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ให้เกียรติเข้าร่วม ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2557
http://www.betagro.com/newsdetail_th.php?id=202&typecontent=0&Page=1&cmonth=0&cyear=2014
วัดพระนั่งดิน Wat Phra Nang Din
ณ อุโบสถของวัดเล็กๆ ในอำเภอเชียงคำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่
พุทธลักษณะแม้ไม่งดงามนัก ด้วยอาจเป็นฝีมือช่างพื้นบ้านอันสร้างมาเก่าแก่โบราณจนสืบค้นประวัติมิได้
ทว่าความประหลาดคือ เป็นพระพุทธรูปที่มิยอมขึ้นประดิษฐานบนฐานชุกชี มิว่าชาวบ้านทุกยุคทุกสมัยจะใช้หนทางใดก็ตาม เหตุอัศจรรย์นี้เอง ผู้คนจึงเรียกกันว่า 'พระนั่งดิน'
พุทธลักษณะแม้ไม่งดงามนัก ด้วยอาจเป็นฝีมือช่างพื้นบ้านอันสร้างมาเก่าแก่โบราณจนสืบค้นประวัติมิได้
ทว่าความประหลาดคือ เป็นพระพุทธรูปที่มิยอมขึ้นประดิษฐานบนฐานชุกชี มิว่าชาวบ้านทุกยุคทุกสมัยจะใช้หนทางใดก็ตาม เหตุอัศจรรย์นี้เอง ผู้คนจึงเรียกกันว่า 'พระนั่งดิน'
วัดพระนั่งดิน อยู่ที่บ้านพระนั่งดิน หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
เป็นวัดที่มีความสำคัญ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเชียงคำและพื้นที่ใกล้เคียง
และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอำเภอเชียงคำมาช้านาน ภายในอุโบสถมีการตกแต่งประดับประดาด้วยตุง
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ศิลปะของชาวเหนือ และเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธาน ซึ่งมีความแปลกแตกต่างจากพระพุทธรูปโดยทั่วไป ด้วยไม่มีฐานชุกชีรองรับ พระพุทธรูปจึงนั่งอยู่บนพื้น
เป็นวัดที่มีความสำคัญ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเชียงคำและพื้นที่ใกล้เคียง
และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอำเภอเชียงคำมาช้านาน ภายในอุโบสถมีการตกแต่งประดับประดาด้วยตุง
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ศิลปะของชาวเหนือ และเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธาน ซึ่งมีความแปลกแตกต่างจากพระพุทธรูปโดยทั่วไป ด้วยไม่มีฐานชุกชีรองรับ พระพุทธรูปจึงนั่งอยู่บนพื้น
ตามตำนานกล่าวว่า ...
พระยาผุ้ครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ (ตำนาน) เมื่อ นมจตุ จุลศักราช ๑๒๑๓
ปีระกาเดือน 6 แรม ๓ ค่ำ วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกเมตตาสรรพสัตว์รอบโลกโดยทางอภินิหาร
พอพระองค์เสด็จมาถึงเวียงพุทธสะ (อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระองค์ได้เสด็จประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ พระธาตุดอยคำปัจจุบัน ทรงแผ่เมตตาและประสาทพรตรัสสั่งพระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น
ให้สร้างรูปเหมือนของพระองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะนี้ พอสัพพัญญูเจ้าตรัสจบ ก็ปรากฏว่ามี พระยาอินทร์องค์หนึ่ง พระยานาคตนหนึ่ง พระฤระฤาษี ๒ รูป และพระอรหันต์ ๔ องค์ ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีป มาสร้างพระรูปเหมือนของพระพุทธองค์ โดยใช้เวลาสร้างหนึ่งเดือนกับเจ็ดวันจึงแล้วเสร็จ ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้เสด็จไปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว จึงได้เสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้งทรงเห็นรูปเหมือนที่ให้ทรงสร้างนั้น เล็กกว่าองค์ตถาคต จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระองค์ แล้วพระสัพพัญญูเจ้าได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาล
รูปปั้นจำลองจึงเลื่อนลงจากฐานชุกชี (แท่น) มากราบไว้พระสัพพัญญูเจ้าพระองค์ได้ตรัสเทศนา
กับรูปเหมือนที่ให้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ ๕,๐๐๐ พระวรรษา”
พระรูปเหมือนนั้นได้กราบน้อมรับเอาแล้วประดิษฐานอยู่บนผืนดินนั้นพระรูปเหมือนดังกล่าวคือ องค์พระเจ้านั่งดิน ในปัจจุบันนี้เอง เป็นที่น่าสังเกตว่า พระเจ้านั่งดินองค์นี้ ไม่ได้ประทับบนฐานชุกชี เหมือนกับพระพุทธรูปในอุโบสถวัดอื่นๆ มีผู้เฒ่าแก่เล่าว่า เคยมีชาวบ้านพากันสร้างฐานชุกชี
แล้วอัญเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประทับ แต่มีเหตุปาฏิหาริย์เกิดฟ้าผ่านลงมาที่อุโบสถถึง ๓ ครั้ง พุทธบริษัททั้งหลายจึงอาราธนาลงมาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิมตราบเท่าทุกวัน นี้
http://www.bansailocal.go.th/brakefast.htmlพระยาผุ้ครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ (ตำนาน) เมื่อ นมจตุ จุลศักราช ๑๒๑๓
ปีระกาเดือน 6 แรม ๓ ค่ำ วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกเมตตาสรรพสัตว์รอบโลกโดยทางอภินิหาร
พอพระองค์เสด็จมาถึงเวียงพุทธสะ (อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระองค์ได้เสด็จประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ พระธาตุดอยคำปัจจุบัน ทรงแผ่เมตตาและประสาทพรตรัสสั่งพระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น
ให้สร้างรูปเหมือนของพระองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะนี้ พอสัพพัญญูเจ้าตรัสจบ ก็ปรากฏว่ามี พระยาอินทร์องค์หนึ่ง พระยานาคตนหนึ่ง พระฤระฤาษี ๒ รูป และพระอรหันต์ ๔ องค์ ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีป มาสร้างพระรูปเหมือนของพระพุทธองค์ โดยใช้เวลาสร้างหนึ่งเดือนกับเจ็ดวันจึงแล้วเสร็จ ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้เสด็จไปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว จึงได้เสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้งทรงเห็นรูปเหมือนที่ให้ทรงสร้างนั้น เล็กกว่าองค์ตถาคต จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระองค์ แล้วพระสัพพัญญูเจ้าได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาล
รูปปั้นจำลองจึงเลื่อนลงจากฐานชุกชี (แท่น) มากราบไว้พระสัพพัญญูเจ้าพระองค์ได้ตรัสเทศนา
กับรูปเหมือนที่ให้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ ๕,๐๐๐ พระวรรษา”
พระรูปเหมือนนั้นได้กราบน้อมรับเอาแล้วประดิษฐานอยู่บนผืนดินนั้นพระรูปเหมือนดังกล่าวคือ องค์พระเจ้านั่งดิน ในปัจจุบันนี้เอง เป็นที่น่าสังเกตว่า พระเจ้านั่งดินองค์นี้ ไม่ได้ประทับบนฐานชุกชี เหมือนกับพระพุทธรูปในอุโบสถวัดอื่นๆ มีผู้เฒ่าแก่เล่าว่า เคยมีชาวบ้านพากันสร้างฐานชุกชี
แล้วอัญเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประทับ แต่มีเหตุปาฏิหาริย์เกิดฟ้าผ่านลงมาที่อุโบสถถึง ๓ ครั้ง พุทธบริษัททั้งหลายจึงอาราธนาลงมาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิมตราบเท่าทุกวัน นี้