Tuesday 12 August 2014

Father home and Mother home...look near..and close..by new economic corridors..


วารสารดำรงราชานุภาพ เล่มที่ 41 เตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน>>อ่าน
 เอกสารความรู้ เล่มที่ 6/2555 คำศัพท์สำหรับการบริหารงานพัฒนาจังหวัด>>อ่าน
 เอกสารความรู้ เล่มที่ 9/2555 มารู้จักอาเซียนกันเถอะ >>อ่าน
 การค้าการลงทุนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดย กรมการค้าต่างประเทศ>>อ่าน
 ทิศทางการพัฒนาประเทศไทยในปี 2558 เมื่อไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
โดย ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ >>อ่าน
 มุมมองของภาคเอกชนต่อการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558
โดย นายฉัตรชัย มงคลวิเศษไกวัล>>อ่าน
 ประเทศไทยกับอาเซียนและการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558
โดย น.ส.บุษฎี สันติพิทักษ์>>อ่าน
 การเตรียมความพร้อมของกระทรวงมหาดไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
โดย กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย>>อ่าน
 รายงานการศึกษา โอกาสและผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อ
กระทรวงมหาดไทย โดย สำนักงานนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย>>อ่าน
http://www.stabundamrong.go.th/web/asean.html?option=com_content&task=category&sectionid=2&id=75&Itemid=26

เครือเบทาโกรทำพิธียกเสาเอกโรงงานผลิตอาหารสัตว์แห่งแรกในกัมพูชา




ดร.ชัยวัฒน์  แต้ไพสิฐพงษ์  ประธานกรรมการเครือเบทาโกร เป็นประธานนำคณะผู้บริหารรระดับสูงและพนักงานเครือเบทาโกร เข้าร่วมพิธียกเสาเอกโรงงานผลิตอาหารสัตว์แห่งแรก บริษัท เบทาโกร (กัมพูชา) จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ หรือPhanom Penh Special Economic Zone (PPSEZ)   โดยมี นางจีรนันท์ วงษ์มงคล อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) ประจำกรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ให้เกียรติเข้าร่วม ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2557
http://www.betagro.com/newsdetail_th.php?id=202&typecontent=0&Page=1&cmonth=0&cyear=2014



วัดพระนั่งดิน Wat Phra Nang Din
ณ อุโบสถของวัดเล็กๆ ในอำเภอเชียงคำ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่
พุทธลักษณะแม้ไม่งดงามนัก ด้วยอาจเป็นฝีมือช่างพื้นบ้านอันสร้างมาเก่าแก่โบราณจนสืบค้นประวัติมิได้
ทว่าความประหลาดคือ เป็นพระพุทธรูปที่มิยอมขึ้นประดิษฐานบนฐานชุกชี มิว่าชาวบ้านทุกยุคทุกสมัยจะใช้หนทางใดก็ตาม เหตุอัศจรรย์นี้เอง ผู้คนจึงเรียกกันว่า 'พระนั่งดิน'
วัดพระนั่งดิน อยู่ที่บ้านพระนั่งดิน หมู่ที่ 7 ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
เป็นวัดที่มีความสำคัญ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเชียงคำและพื้นที่ใกล้เคียง
และถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองอำเภอเชียงคำมาช้านาน ภายในอุโบสถมีการตกแต่งประดับประดาด้วยตุง
ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ศิลปะของชาวเหนือ และเป็นที่ประดิษฐานองค์พระประธาน ซึ่งมีความแปลกแตกต่างจากพระพุทธรูปโดยทั่วไป ด้วยไม่มีฐานชุกชีรองรับ พระพุทธรูปจึงนั่งอยู่บนพื้น
ตามตำนานกล่าวว่า ... 
พระยาผุ้ครองเมืองพุทธรสะได้ค้นพบประวัติ (ตำนาน) เมื่อ นมจตุ จุลศักราช ๑๒๑๓
ปีระกาเดือน 6 แรม ๓ ค่ำ วันจันทร์ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกเมตตาสรรพสัตว์รอบโลกโดยทางอภินิหาร
พอพระองค์เสด็จมาถึงเวียงพุทธสะ (อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระองค์ได้เสด็จประทับอยู่บนดอยสิงกุตตระ พระธาตุดอยคำปัจจุบัน ทรงแผ่เมตตาและประสาทพรตรัสสั่งพระยาคำแดงเจ้าเมืองพุทธรสะในขณะนั้น
ให้สร้างรูปเหมือนของพระองค์ไว้ยังเมืองพุทธรสะนี้ พอสัพพัญญูเจ้าตรัสจบ ก็ปรากฏว่ามี พระยาอินทร์องค์หนึ่ง พระยานาคตนหนึ่ง พระฤระฤาษี ๒ รูป และพระอรหันต์ ๔ องค์ ช่วยกันเนรมิตเอาดินศักดิ์สิทธิ์จากเมืองลังกาทวีป มาสร้างพระรูปเหมือนของพระพุทธองค์ โดยใช้เวลาสร้างหนึ่งเดือนกับเจ็ดวันจึงแล้วเสร็จ ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้เสด็จไปรดสัตว์ทั่วถึงแล้ว จึงได้เสด็จเข้าสู่เมืองพุทธรสะอีกครั้งทรงเห็นรูปเหมือนที่ให้ทรงสร้างนั้น เล็กกว่าองค์ตถาคต จึงตรัสให้เอาดินมาเสริมให้ใหญ่เท่าพระองค์ แล้วพระสัพพัญญูเจ้าได้แผ่รัศมีออกครอบจักรวาล
รูปปั้นจำลองจึงเลื่อนลงจากฐานชุกชี (แท่น) มากราบไว้พระสัพพัญญูเจ้าพระองค์ได้ตรัสเทศนา
กับรูปเหมือนที่ให้สร้างขึ้นนั้นว่า “ขอให้ท่านจงอยู่รักษาศาสนาของกูตถาคตให้ครบ ๕,๐๐๐ พระวรรษา”
พระรูปเหมือนนั้นได้กราบน้อมรับเอาแล้วประดิษฐานอยู่บนผืนดินนั้นพระรูปเหมือนดังกล่าวคือ องค์พระเจ้านั่งดิน ในปัจจุบันนี้เอง เป็นที่น่าสังเกตว่า พระเจ้านั่งดินองค์นี้ ไม่ได้ประทับบนฐานชุกชี เหมือนกับพระพุทธรูปในอุโบสถวัดอื่นๆ มีผู้เฒ่าแก่เล่าว่า เคยมีชาวบ้านพากันสร้างฐานชุกชี
แล้วอัญเชิญพระเจ้านั่งดินขึ้นประทับ แต่มีเหตุปาฏิหาริย์เกิดฟ้าผ่านลงมาที่อุโบสถถึง ๓ ครั้ง พุทธบริษัททั้งหลายจึงอาราธนาลงมาประดิษฐานบนพื้นดินดังเดิมตราบเท่าทุกวัน นี้
http://www.bansailocal.go.th/brakefast.html